หนึ่งในลักษณะสำคัญของอุปกร์อุ้มเด็กก็คือการโอบอุ้มเด็กในตำแหน่งที่เหมาะสม และคำถามที่ตามมาก็คือ ตำแหน่งใดที่เหมาะสมต่อการอุ้มเด็กทารก?
ตำแหน่งที่ถูกต้องในการอุ้มเด็กนั้น อย่างน้อยควรเป็นตำแหน่งท่าทางที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับสะโพกและกระดูกสันหลังของทารกน้อย
โดยปกติแล้วกุมารแพทย์นั้นจะทำการสังเกตและตรวจร่างกายของเด็กทารกที่เพิ่งคลอดเพื่อดูว่าเด็กนั้นมีปัญหาในโรคข้อสะโพกเคลื่อนหรือไม่
ความหมายของโรคข้อสะโพกเสื่อมและอาการ
โรคข้อสะโพกเคลื่อนนั้นเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อของสะโพก ตำแหน่งของข้อต่อสะโพกคือระหว่างกระดูกต้นขาและเบ้าหัวกระดูกต้นขา
โรคข้อสะโพกนั้นจะตรวจพบก็ต่อเมื่อกระดูกต้นขาเคลื่อนโดยสมบูรณ์แบบหรือบางส่วน กระดูกต้นขาจะเคลื่อนออกมาและไม่เข้าไปต่อกระชับกับเบ้าหัวกระดูกต้นขา ซึ่งการหลุดออกจากกันนี้อาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นถาวรหรือเกิดเป็นบางครั้งเมื่อขยับกระดูกต้นขาก็เป็นได้
แพทย์มีแนวโน้มที่จะตรวจหาโรคนี้ซ้ำภายหลังจากที่เด็กมีการเจริญเติบโตระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากอาการของโรคข้อสะโพกนั้นอาจจะไม่ปรากฎให้เห็นตั้งแต่กำเหนิดในผู้ป่วยบางราย ยิ่งตรวจพบการผิดตำแหน่งของกระดูกบริเวณสะโพกเร็วเท่าใดการรักษาก็จะมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น ในบางกรณีนั้นการได้รับการตรวจโรคและรักษาล่าช้าเกินไปสามารถส่งผลร้ายแรงต่อทั้งตัวเด็กเองและสามารถกลายเป็นภาระให้ผู้ปกครองได้อีกด้วย
โรคข้อสะโพกเสื่อมตั้งแต่กำเหนิดนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นเพียงร้อยละหนึ่งจุดสี่เท่านั้น และมีเพียงร้อยละหนึ่งของเด็กที่เป็นโรคนี้ที่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ค่าประมาณของอุบัติการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบำบัดที่ตัวเด็กได้รับ การตรวจอัลตราซาวนด์นั้นบ่งชี้ได้ว่าร้อยละเจ็ดถึงสิบของเด็กทารกแรกเกิดนั้นมีปัญหาข้อสะโพก จุดที่น่าสนใจคือเพศที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาข้อสะโพกนั้นมักจะเป็นเพศหญิง โดยเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะมีปัญหานี้ตั้งแต่แรกเกิดมากกว่าเด็กชายถึงแปดเท่า สาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้นอาจมาจากกรรมพันธุ์และตำแหน่งของตัวเด็กในการคลอด ร้อยละห้าถึงร้อยละยี่สิบห้าของทารกที่คลอดในท่าก้นหรือท่าที่เอาก้นออกมาก่อนศีรษะระหว่างคลอดนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับโรคข้อสะโพกเสื่อม ในกรณีนี้นั้นการผ่าคลอดจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคข้อสะโพกเสื่อมได้
อีกปัจจัยหนึ่งที่น่าสนใจของโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้นก็คือการใช้ผ้าอ้อมในทารก การใช้ผ้าอ้อมในเด็กทารกนั้นมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมมากกว่าปัจจัยทางพันธุกรรม การใช้ผ้าอ้อมในเด็กโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งของขาเด็กนั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้กระดูกต้นขาของเด็กหลุดออกจากเบ้าหัวกระดูกต้นขาได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเมื่อใช้ผ้าอ้อมในเด็กเล็กควรตรวจสอบดูให้แน่ใจว่าขาของทารกนั้นแยกออกจากกันอย่างพอดีและเป็นธรรมชาติตามสรีระของทารก
โรคข้อสะโพกเสื่อมนั้นไม่ใช่ปัญหาเล็กที่ควรมองข้าม ถ้าหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาและการบำบัดอย่างถูกวิธีก็มีความเป็นไปได้ที่อาการเจ็บปวดบริเวณสะโพกจะคงอยู่ถาวรและทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งการรักษาและกายบำบัดที่ซับซ้อนและยุ่งยากมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น
ร้อยละสิบของการผ่าตัดสะโพกในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีสาเหตุมาจากการละเลยในการตรวจหาโรคข้อสะโพกเสื่อม และสะโพกอักเสบในผู้หญิงส่วนใหญ่ยังมาจากสาเหตุนี้อีกด้วย
ทารกในท่าก้นนั้นมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางด้านสะโพกมากกว่าทารกที่คลอดด้วยท่าศีรษะหรือท่าปกติ
อะไรคือสาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อม?
จากการศึกษาในช่วงแรกนั้น สาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อมคือปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์ ทำให้กระดูกต้นขาไม่สามารถเข้ารอยได้กับเบ้าของสะโพก
และจากการศึกษาล่าสุดนั้น สาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อมถูกมุ่งประเด็นไปที่การม้วนตัวของทารกระหว่างอยู่ในครรภ์แม่ โดยปกตินั้นในขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา ขาของทารกจะพับเข้าตรงสะโพกและแยกออกตามสรีระของร่างกายมนุษย์ เมื่อถึงกำหนดคลอดกระดูกต้นขาจะประกอบไปด้วยกระดูกอ่อนที่สามารถพัฒนาไปเป็นกระดูกได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม กระดูกอ่อนนี้สามารถเปลี่ยนเป็นกระดูกปกติได้ในหลายระดับ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสาเหตุของการแบ่งระดับความรุนแรงของโรคข้อสะโพกเสื่อม
ระหว่างการพัฒนาของกระดูกของทารกแรกเกิดนั้น ขาของทารกไม่ควรถูกตึงเหยียดออกมานานเกินไป และควรถูกพับอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมให้เหมือนในขณะที่ทารถอาศัยอยู่ในครรภ์เพื่อที่ทารกจะได้ค่อย ๆ ปรับสภาพกระดูกของตนเองให้เหมาะสม
การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมในปีแรกจะทำโดยการวางทารกในสายรัดประคองสะโพกโดยจัดท่าให้ทารกอยู่ในท่ากบ
การอุ้มทารกและโรคข้อสะโพกเสื่อม
แพทย์ศัลยกรรมกระดูกบางท่าน เช่น ดร. เฟตเวส แพทย์ศัลยกรรมกระดูกชื่อดังชาวเยอรมันนี ได้ทำการสนับสนุนการอุ้มเด็กในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อเลี่ยงอาการของโรคข้อสะโพกเสื่อม อย่างไรก็ตามการจัดท่าให้ทารกอยู่ในท่ากบถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะมองข้ามไม่ได้ ขาของทารกจะต้องแยกออกจากกันและเข่าพับขึ้นให้สูงเหนือข้อต่อสะโพกของตัวทารก
ในการอุ้มทารกให้มีประสิทธิภาพนั้นผู้อุ้มควรจัดท่าทารกให้อยู่ในตำแหน่งท่าทางที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงขาและข้อต่อสะโพกของทารกเป็นสำคัญ ทารกจะตอบสนองต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อต้นขา ด้วยเหตุนี้การพาทารกออกกำลังขาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อในขณะที่กระดูกต้นขาของทารกเคลื่อนเข้าไปในเบ้ากระดูกต้นขาอย่างถูกต้องจึงเป็นการช่วยให้ร่างกายของทารกเป็นปกติและเลี่ยงอาการบาดเจ็บ อีกทั้งการเคลื่อนไหวยังช่วยให้การไหลเวียนเลือดในร่างกายของทารกดีขึ้นอีกด้วยและยังส่งผลต่อการพัฒนากระดูกจากกระดูกอ่อนอีกด้วย
เมื่อทารกอยู่ในสายรัดประคองสะโพกทารกจะไม่สามารถขยับตัวได้มากนัก เว้นเสียแต่ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบำบัดโรคข้อสะโพกเสื่อมช่วยจัดตำแหน่งให้ทารกอย่างถูกวิธี
อย่างไรก็ตามแต่ จากการศึกษาในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้ว่าการอุ้มเด็กในท่าที่เหมาะสมนั้นจะมีประสิทธิภาพและปลอดภัยได้เหมือนกับการอุ้มทารกในสายรัดประคองสะโพกหรือไม่
การอุ้มทารกอาจมีได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ แต่การอุ้มอย่างถูกวิธีจะทำให้ผู้ปกครองมั่นใจได้ว่าการอุ้มนี้สามารถช่วยให้ทารกน้อยห่างจากโรคข้อกระดูกเสื่อม
เฮนริค นอร์ฮอล์ท (ผู้เขียน)
ดร. เฮนริค นอร์ฮอล์ทเป็นสมาชิกของสมาคมสุขภาพจิตทารก ดร. เฮนริค ได้จบการศึกษาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เขาได้ทำการศึกษาวิจัยผลกระทบของการอุ้มทารกต่อสุขภาพจิตทารกและได้เฝ้าสังเกตการวิจัยนี้ตั้งแต่ปี 2001
ดร. เฮนริค ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยนี้ผ่านทางเครือข่ายแพทย์, หมอตำแย, สูติแพทย์, กุมารแพทย์ และนักจิตวิทยาเด็ก เขายังได้แบ่งปันมุมมองและความรู้ของเขากับผู้ติดตามบล็อคของ Ergobaby อีกด้วย