News

วิธีการให้นมลูกอย่างถูกวิธี

การให้นม สุขภาพ แม่ลูกอ่อน แม่และเด็ก

วิธีการให้นมลูกอย่างถูกวิธี

วิธีการให้นมลูกอย่างถูกวิธี ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จตั้งแต่แรก คือการให้ลูกได้ดูดนมแม่จากเต้าอย่างถูกวิธี ค่ะเพราะลูกได้รับประโยชน์จากทั้งน้ำนมแม่ ไปพร้อมๆ กับประโยชน์จากการได้ใกล้ชิดกับแม่

อ่านเพิ่มเติม →


8 วิธีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ

8 วิธีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ

1) หลังคลอดลูกดูดนมแม่ให้เร็วที่สุดคุณแม่ควรเริ่มให้ลูกดูดนมแม่โดยเร็วที่สุดหลังคลอดทันทีหรือภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์แห่งความรัก ความผูกพัน และความอบอุ่นที่ลูกน้อยรับรู้ได้ทันที ลูกจะคุ้นเคยกับการดูดนมและแม่จะเข้าใจและเรียนรู้ความต้องการของลูก2) แม่ต้องรู้วิธีให้นมที่ถูกต้องวิธีการให้นมลูกที่ถูกต้องคือ คุณแม่ต้องตะแคงตัวลูกเข้าหาตัวแม่แล้วอุ้มให้กระชับอก โดยให้ศีรษะและลำตัวลูกอยู่แนวเดียวกัน แล้วประคองศีรษะลูกให้อมหัวนมและลานนมให้ลึก เมื่อเหงือกลูกกดบนลานนมที่มีกระเปาะน้ำนมภายใน ลิ้นจะอยู่ใต้ลานนมและรีดน้ำนมออกมาโดยที่ริมฝีปากไม่เม้มเข้า ขณะดูดจะเป็นจังหวะและมีเสียงเบา ๆ ขณะกลืนน้ำนม ส่วนการคงสภาพของการหลั่งน้ำนมแม้ว่าแม่กับลูกต้องแยกจากกันควรต้องให้คุณแม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการบีบน้ำนมและกระตุ้นให้เก็บน้ำนมในความถี่ที่เหมาะสมอย่างน้อย 8 ครั้งต่อวัน และมีปริมาณน้ำนมที่ชัดเจน โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรกควรต้องได้ปริมาณน้ำนมมากกว่า 500 มิลลิลิตรต่อวัน นอกจากนี้ควรมีการบันทึกปริมาณน้ำนมในช่วง 14 วันแรก เพื่อประเมินความพอเพียงของน้ำนม3) ทารกต้องกินนมแม่เท่านั้นทารกต้องได้รับแต่นมแม่เท่านั้นตลอด 6 เดือน ห้ามให้น้ำ อาหาร หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เนื่องจากสมองของเจ้าตัวเล็กเติบโตเร็วมากในขณะที่กระเพาะอาหารมีขนาดเล็ก หากให้น้ำหรืออาหารอื่น ๆ ลูกจะดูดนมแม่น้อยลง การให้นมแม่อย่างเดียวถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักและมีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน4) แม่ลูกควรอยู่ด้วยกัน 24 ชั่วโมงตั้งแต่แรกเกิดหลังคลอดแม่กับลูกควรอยู่ด้วยกันตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยแม่ควรอุ้มทารกแนบอก เพราะลูกน้อยกำลังตื่นตัวกับสิ่งรอบข้าง หากทารกได้รับความอบอุ่นจะช่วยให้สามารถดูดนมแม่ได้ตั้งแต่ชั่วโมงแรก ๆ นอกจากทำให้คุ้นชินยังช่วยถนอมหัวนมคุณแม่ได้ด้วย ช่วยเสริมสร้างการให้นมแม่ในระยะยาว5) ลูกดูดนมแม่ได้บ่อยตามที่ต้องการลูกควรได้ดูดนมแม่บ่อยเท่าที่ต้องการ เพราะจะได้รับสารอาหารครบถ้วน มีความชำนาญในการดูดนม ป้องกันการคัดตึงของเต้านมแม่ และช่วยกระตุ้นให้ร่างกายแม่ผลิตปริมาณน้ำนมได้เพิ่มขึ้นและเร็วขึ้นด้วย หลังคลอดลูกควรอยู่ร่วมห้องเดียวกับแม่เพื่อให้ได้น้ำนมเพียงพอ โดยระยะการให้นมระหว่างมื้อไม่ควรเกิน 3 ชั่วโมง หากคุณแม่อ่อนเพลียสามารถนอนท่าตะแคงแล้วให้พยาบาลเอาลูกเข้าเต้าดูดนมแบบที่ถูกต้องเพื่อจะได้นอนหลับพักผ่อน6) ไม่ให้ลูกดูดหัวนมยางหรือหัวนมปลอมการให้ลูกน้อยดูดหัวนมยางหรือหัวนมปลอมอาจทำให้เกิดความสับสนระหว่างการดูดนมแม่กับการดูดหัวนมยางหรือหัวนมปลอม เพราะวิธีการดูดมีความแตกต่างกัน การดูดนมแม่ลูกต้องใช้ลิ้นและขยับกรามเพื่อรีดน้ำนมจากกระเปาะน้ำนม แต่การดูดหัวนมยางลูกไม่ต้องออกแรงเพราะน้ำนมไหลผ่านหัวนมยางได้ทันที ส่งผลให้ลูกไม่คุ้นเคยกับการดูดนมแม่และปฏิเสธนมจากเต้าของแม่ได้ในที่สุด7) อบรมการให้นมแม่อย่างถูกวิธีการให้นมแม่อย่างถูกวิธีมีความสำคัญมาก เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนคลอด เลือกฝากครรภ์ในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน และอยู่ภายใต้การดูแลของคลินิกนมแม่ที่มีการสอนและจัดอบรมการให้นมแม่ที่ถูกต้อง ตั้งแต่การให้นม การบีบนม การปั๊มนม การเก็บนม พร้อมดูแลตั้งแต่ก่อนคลอด ขณะคลอด และหลังคลอด โดยมีพยาบาลนมแม่ทำงานร่วมกับทีมสูติ-นรีแพทย์ กุมารเวชศาสตร์ กุมารเวชศาสตร์สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด (NICU) นักโภชนาการ นักกายภาพ ย่อมช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกน้อยได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ8) แม่ทำงานต้องวางแผนให้นมลูกเมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงานควรวางแผนให้ดีในการให้นมลูก โดยองค์กรอนามัยโลกแนะนำให้ 6 เดือนแรกควรให้นมแม่อย่างเดียว ต่อมาควรให้นมแม่ร่วมกับอาการเสริมอีก 2 ปีหรือมากกว่า โดยคุณแม่ต้องมีความรู้เรื่องการปั๊มนมและเก็บนมอย่างถูกต้อง ในระหว่างวันทำงานช่วงพักสามารถปั๊มนมเก็บไว้ได้ โดยศึกษาวิธีการและเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ที่สำคัญควรให้ลูกดูดนมจากเต้าก่อนไปทำงาน หลังกลับจากที่ทำงาน ตอนกลางคืน และวันหยุดควรเอาลูกเข้าเต้าทุกครั้ง เพราะการที่ลูกดูดนมแม่จากเต้าช่วยสร้างน้ำนมได้มากกว่าการใช้เครื่องปั๊มนม...

อ่านเพิ่มเติม →


ทำอย่างไรเมื่อลูกชอบกัด

พฤติกรรมเด็ก แม่ลูกอ่อน แม่และเด็ก

ทำอย่างไรเมื่อลูกชอบกัด

ตอนที่ลูกอายุ 5-6 เดือน คุณแม่คงสังเกตเห็นแล้วว่าเขาชอบเอาสิ่งของต่างๆ ใกล้ตัวที่คว้าได้ เข้าปากแล้วกัดด้วยความมันเขี้ยว และจะมีน้ำลายออกมามากกว่าปกติ เนื่องจากลูกมีอาการเจ็บๆ คันๆ เหงือก เพราะฟันของเขาพร้อมจะโผล่ออกจากเหงือกแล้ว ในช่วงนี้สันเหงือกของลูกจะดูนูนๆ กว่าปกติ ถ้าคุณแม่ลองคลำๆ ดู จะรู้สึกว่ามีอะไรแข็งๆ อยู่ใต้เหงือกแล้ว มาถึงช่วงวัย 7-9 เดือน ที่ฟันของลูกเริ่มขึ้นนี้ เขาจะยิ่งสนุกกับการคว้าเอาอะไรต่ออะไรไปกัดเล่นมากขึ้นไปอีก

อ่านเพิ่มเติม →


อาหารแบบไหน? ที่คุณแม่ควรเลี่ยง

สุขภาพ แม่ลูกอ่อน แม่และเด็ก

อาหารแบบไหน? ที่คุณแม่ควรเลี่ยง

คุณแม่หลาย ๆ คน มักมีของชอบที่แตกต่างกันไป ตามรสชาติและชนิดของอาหารที่ชอบ แต่เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ คุณแม่ต้องคำนึงและระวังอาหารที่ทานเข้าไปในทุก ๆ มื้อ เพราะโภชนาการที่คุณแม่ได้รับลูกน้อยในครรภ์ก็ได้รับด้วย เราจึงต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในอาหารแต่ละมื้อ ไม่ว่าอาหารจานนั้นจะเป็นของโปรดหรือไม่ก็ตาม

อ่านเพิ่มเติม →


ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการที่คุณแม่อาจต้องเผชิญ และวิธีป้องกัน

ซึมเศร้า สุขภาพ แม่ลูกอ่อน แม่และเด็ก

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการที่คุณแม่อาจต้องเผชิญ และวิธีป้องกัน

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (hormone swing) เปลี่ยนจากหญิงตั้งครรภ์มาเป็นคุณแม่ที่ต้องให้นมบุตร ต้องรับมือกับเด็กที่เกิดใหม่ที่คุณแม่หลายคนยังตั้งตัวไม่ติด กังวลทุกครั้งที่ลูกร้อง หรือควบคุมลูกตัวเองไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคุณแม่ เกิดอารมณ์แปรปรวนจนบางรายอาจไม่สามารถควบคุมได้ เป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลายๆ ท่าน คนรอบตัวควรทำความเข้าใจ ให้กำลังใจ และคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างใกล้ชิด

อ่านเพิ่มเติม →