News
Embrace เป้อุ้มเด็กแรกเกิด (0-18 เดือน) ที่คุณแม่ต้องมี
Embrace
เป้อุ้มที่ออกแบบมาเพื่อเป็นเป้อุ้มชิ้นแรกของลูกน้อย (0~18 เดือน)
ปกติตามท้องตลาดจะเราจะเจอแต่เป้อุ้มสำหรับเด็ก 3-4 เดือนขึ้นไป หรือในวัยที่เริ่มมีกระดูกคอแข็งแรงแล้ว
แล้วลูกน้อยที่เพิ่งเกิดล่ะ เราจะต้องอุ้มมือเท่านั้นหรอ? นี่ก็คงเป็นคำถามของคุณพ่อคุณแม่หลายท่านที่เพิ่งมีลูกตัวน้อยๆ
OMNI360 เป้อุ้มที่คุ้มค่าที่สุด
เป้อุ้ม Omni 360 เป้อุ้มที่ครบจบพร้อมใช้งานได้ในชิ้นเดียว ออกแบบมาเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมไปกับลูกน้อย ทั้งเที่ยวต่างประเทศ สำรวจโลกกว้าง เล่นสกี โยคะ สามารถใช้ได้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 48 เดือน(4ขวบ) โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริมอะไรเพิ่มเติม อุ้มเด็กได้หลากหลายท่วงท่า
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์ต่อทั้งตัวแม่และลูก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีต่อลูกอย่างไร เป็นสารอาหารธรรมชาติ ที่มีสารอาหารครบถ้วนและเสริมภูมิต้านทานที่จำเป็นต่อร่างกายของลูกน้อย มีพรีไบโอติก ซึ่งเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ช่วยส่งเสริมจุลินทรีย์สุขภาพที่มีอยู่ตามธรรมชาติในระบบทางเดินอาหารให้เจริญเติบโตดีจึงช่วยเสริมสร้างเกราะป้องกันตามธรรมชาติให้กับร่างกายลูกเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ทำให้สุขภาพทางเดินอาหารดี มีกรดไขมันที่ช่วยพัฒนาสมองของลูก ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานและลูคีเมียในเด็ก ช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและหูและการ แพ้ต่างๆ เช่น หอบหืดและผื่นผิวหนังอักเสบ นอกจากนั้น เด็กที่กินนมแม่จะมีระดับความดันเลือดที่ดี และเป็นโรคอ้วนในผู้ใหญ่น้อยกว่าเด็กที่กินนมวัว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีต่อคุณแม่เพราะอะไร ประหยัดและมีอุณหภูมิที่เหมาะสมคงที่อยู่เสมอ ร่างกายของคุณจะหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนแห่งความรัก (love hormone) ขณะให้ลูกกินนมซึ่งช่วยสร้างความผูกพันกับลูก ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ก่อนวัยหมดประจำเดือน รวมถึงภาวะกระดูกพรุนด้วย (osteoporosis) ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้รูปร่างคุณมีสัดส่วนดังเดิมรวดเร็วขึ้น มีพร้อมเสมอทุกที่ทุกเวลา สะดวก ไม่ต้องเตรียมนมและอุปกรณ์ให้ยุ่งยาก 5 เคล็ดลับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อพร้อมแล้ว คุณแม่ควรให้ลูกทานนมแม่ทันที่หลังการคลอด นอกจากนั้นทารกน้อยที่กินนมแม่ได้ตั้งแต่ในช่วงชั่วโมงแรกๆ จะรู้จักอมหัวนมได้ถูกต้องกว่าทารกที่ไม่ได้ทำ อย่าเกร็ง และทำตัวสบายๆ ขณะให้การเลี้ยงลูกด้วยการให้นม นี่เป็นวิธีง่ายๆ เพียงคุณแม่ล้างมือทั้งสองข้างให้สะอาดหมดจดด้วยน้ำและสบู่ จัดท่านั่งหรือนอนบนเก้าอี้ หรือจัดที่นอนให้คุณแม่รู้สึกสบาย วางเบาะหรือหมอน เพื่อหนุนแขนคุณแม่หรือให้ลูกน้อยนอน วางแก้วน้ำไว้ใกล้มือเผื่อคุณแม่หิวน้ำ รู้วิธีทำให้ลูกเรอหลังกินนมทุกครั้ง การเรอหลังกินนมมีความสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะจะช่วยให้ลูกรู้สึกสบายและเพื่อไม่ให้ลูกหงุดหงิดหรือแหวะนมง่าย จัดท่าลูกน้อยให้ถูกต้องก่อนให้นม การจัดท่าที่ถูกต้องมีความสำคัญต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากจะช่วยให้ทั้งคู่สบาย ป้องกันไม่ให้หัวนมเจ็บ ทำให้น้ำนมไหลได้ดี และช่วยให้ลูกได้รับน้ำนมอย่างเต็มที่ ง่ายๆ คือ จัดท่าอุ้มโดยให้ลูกน้อยหันหน้าและลำตัวเข้าหาเต้านมนะคะ ถ้าลูกไม่หันมาทางคุณแม่ เค้าจะต้องหันศีรษะเวลาดูดนม ซึ่งเป็นเหตุให้ลูกดึงหัวนม และอาจทำให้เจ็บหัวนม ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม่ควรให้ลูกน้อยดูดนมทั้ง 2 ข้าง ด้วยการย้ายไปมา มาดูดอีกเต้าเมื่อลูกดูดนมไปแล้วช่วงเวลาหนึ่ง หรือในการป้อนนมครั้งถัดไป ด้วยการให้ดูดจากเต้าแรกจนหมดเต้าเสียก่อน จากนั้นค่อยสลับ และในการป้อนนมครั้งถัดไป ก็ให้เริ่มจากอีกเต้าที่ลูกไม่ได้ดูดในครั้งหลังสุดก่อน เพื่อให้เต้านมทั้งสองข้างได้รับการกระตุ้นเท่าเทียมกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : www.hifamilyclub.com
Omni 360 หรือ Hip Seat?
เปรียบเทียบจุดเด่นของเป้อุ้มยอดนิยมทั้งสองรุ่นOmni 360 เป้อุ้มที่พร้อมใช้สัปดาห์แรกของลูกน้อย เป็นเป้อุ้มที่ครบเครื่องพร้อมใช้งานในชิ้นเดียว สามารถใช้ได้กับลูกน้อยอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 48 เดือน อีกทั้งยังออกแบบได้ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ ที่ปกป้องลูกน้อยจากปัญหากระดูกข้อต่อสะโพกหลุดหรือขาโก่ง มั่นใจใส่สบายไม่ปวดหลังแม้อุ้มเป็นระยะเวลานานด้วยสายซัพพอร์ทบ่าและสะโพกที่สามารถปรับเข้ากับรูปร่างของผู้อุ้มได้อย่างพอดี จุดเด่นของเป้อุ้ม Ergobaby รุ่น Omni 360 เหมาะกับเด็กเล็กโอบกอดตัวเด็ก ทำให้หลับสบาย การจูบและหอมลูกน้อยก็ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ตัวเป้เป็นแบบ full function ทำให้อุ้มอุ้มได้รอบตัว ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดโดยไม่ต้องซื้ออุปกรณ์เสริมเพิ่มเติม เนื่องจากไม่มีการใช้โฟมเวลาอุ้ม เด็กจึงรู้สึกเหมือนอยู่ในถุงนอนทำให้หลับได้สบายกว่า ตัวเป้ไม่มีการใช้โฟม จึงไม่กดหน้าท้องผู้อุ้มทำให้สามารถอุ้มได้นานกว่าเป้อุ้มทั่วไป เบาะบริเวณหน้าท้องและหลังมีความหนาทำให้กระจายน้ำหนักได้ดีกว่าลดอาการปวดเมื่อยจากการอุ้มเป็นเวลานาน เนื่องจากไม่มีการใช้แผ่นโฟมจึงทำให้ Omni 360 สามารถม้วนเก็บได้ง่าย พกพาได้ง่ายในทุกการเดินทาง Hip Seat เป้อุ้มคล่องตัวสำหรับวัยสำรวจโลกกว้าง เป็นเป้อุ้มที่สามารถถอดแยกชิ้นได้ใช้งานง่าย ไม่อบร้อน ให้นมได้ง่าย เหมาะสำหรับลูกน้อยในวัย 4 - 48 เดือน และอุ้มได้ถึง 6 ท่า ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นตามแบบฉบับของเป้อุ้ม Ergobaby ตัวสายสะพายสามารถถอดออกได้ เพื่อความอิสระสบายตัวของลูกน้อยที่โตขึ้น จุดเด่นของเป้ Ergobaby รุ่น Hip Seat เหมาะสำหรับเด็กโตกว่ารุ่น Omni 360 (4-48 เดือน) เหมาะสำหรับเด็กที่การพัฒนาการกล้ามเนื้อคอ เริ่มนั่งได้จนถึงวัยกำลังหัดเดิน ถอดใส่ได้ง่าย ให้ความคล่องตัวได้มากกว่า โครงสร้างการออกแบบที่โปร่งสบายกว่า เด็กสามารถขยับตัวได้เยอะขึ้น ด้วยการออกแบบที่สามารถถอดแยกชิ้นได้ การใช้เฉพาะ Hip Seat (เบาะนั่ง) การอุ้มและวางเด็กจึงทำได้ง่ายขึ้นและคล่องตัว
สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคข้อสะโพกเสื่อม โดย เฮนริค นอร์ฮอล์ท
หนึ่งในลักษณะสำคัญของอุปกร์อุ้มเด็กก็คือการโอบอุ้มเด็กในตำแหน่งที่เหมาะสม และคำถามที่ตามมาก็คือ ตำแหน่งใดที่เหมาะสมต่อการอุ้มเด็กทารก? ตำแหน่งที่ถูกต้องในการอุ้มเด็กนั้น อย่างน้อยควรเป็นตำแหน่งท่าทางที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับสะโพกและกระดูกสันหลังของทารกน้อยโดยปกติแล้วกุมารแพทย์นั้นจะทำการสังเกตและตรวจร่างกายของเด็กทารกที่เพิ่งคลอดเพื่อดูว่าเด็กนั้นมีปัญหาในโรคข้อสะโพกเคลื่อนหรือไม่ ความหมายของโรคข้อสะโพกเสื่อมและอาการ โรคข้อสะโพกเคลื่อนนั้นเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับข้อต่อของสะโพก ตำแหน่งของข้อต่อสะโพกคือระหว่างกระดูกต้นขาและเบ้าหัวกระดูกต้นขา โรคข้อสะโพกนั้นจะตรวจพบก็ต่อเมื่อกระดูกต้นขาเคลื่อนโดยสมบูรณ์แบบหรือบางส่วน กระดูกต้นขาจะเคลื่อนออกมาและไม่เข้าไปต่อกระชับกับเบ้าหัวกระดูกต้นขา ซึ่งการหลุดออกจากกันนี้อาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นถาวรหรือเกิดเป็นบางครั้งเมื่อขยับกระดูกต้นขาก็เป็นได้ แพทย์มีแนวโน้มที่จะตรวจหาโรคนี้ซ้ำภายหลังจากที่เด็กมีการเจริญเติบโตระยะหนึ่งแล้ว เนื่องจากอาการของโรคข้อสะโพกนั้นอาจจะไม่ปรากฎให้เห็นตั้งแต่กำเหนิดในผู้ป่วยบางราย ยิ่งตรวจพบการผิดตำแหน่งของกระดูกบริเวณสะโพกเร็วเท่าใดการรักษาก็จะมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น ในบางกรณีนั้นการได้รับการตรวจโรคและรักษาล่าช้าเกินไปสามารถส่งผลร้ายแรงต่อทั้งตัวเด็กเองและสามารถกลายเป็นภาระให้ผู้ปกครองได้อีกด้วย โรคข้อสะโพกเสื่อมตั้งแต่กำเหนิดนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นเพียงร้อยละหนึ่งจุดสี่เท่านั้น และมีเพียงร้อยละหนึ่งของเด็กที่เป็นโรคนี้ที่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ค่าประมาณของอุบัติการณ์นั้นมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบำบัดที่ตัวเด็กได้รับ การตรวจอัลตราซาวนด์นั้นบ่งชี้ได้ว่าร้อยละเจ็ดถึงสิบของเด็กทารกแรกเกิดนั้นมีปัญหาข้อสะโพก จุดที่น่าสนใจคือเพศที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาข้อสะโพกนั้นมักจะเป็นเพศหญิง โดยเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะมีปัญหานี้ตั้งแต่แรกเกิดมากกว่าเด็กชายถึงแปดเท่า สาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้นอาจมาจากกรรมพันธุ์และตำแหน่งของตัวเด็กในการคลอด ร้อยละห้าถึงร้อยละยี่สิบห้าของทารกที่คลอดในท่าก้นหรือท่าที่เอาก้นออกมาก่อนศีรษะระหว่างคลอดนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับโรคข้อสะโพกเสื่อม ในกรณีนี้นั้นการผ่าคลอดจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคข้อสะโพกเสื่อมได้ อีกปัจจัยหนึ่งที่น่าสนใจของโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้นก็คือการใช้ผ้าอ้อมในทารก การใช้ผ้าอ้อมในเด็กทารกนั้นมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมมากกว่าปัจจัยทางพันธุกรรม การใช้ผ้าอ้อมในเด็กโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งของขาเด็กนั้นมีแนวโน้มที่จะทำให้กระดูกต้นขาของเด็กหลุดออกจากเบ้าหัวกระดูกต้นขาได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเมื่อใช้ผ้าอ้อมในเด็กเล็กควรตรวจสอบดูให้แน่ใจว่าขาของทารกนั้นแยกออกจากกันอย่างพอดีและเป็นธรรมชาติตามสรีระของทารก โรคข้อสะโพกเสื่อมนั้นไม่ใช่ปัญหาเล็กที่ควรมองข้าม ถ้าหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาและการบำบัดอย่างถูกวิธีก็มีความเป็นไปได้ที่อาการเจ็บปวดบริเวณสะโพกจะคงอยู่ถาวรและทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ นำมาซึ่งการรักษาและกายบำบัดที่ซับซ้อนและยุ่งยากมากขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ร้อยละสิบของการผ่าตัดสะโพกในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นมีสาเหตุมาจากการละเลยในการตรวจหาโรคข้อสะโพกเสื่อม และสะโพกอักเสบในผู้หญิงส่วนใหญ่ยังมาจากสาเหตุนี้อีกด้วย ทารกในท่าก้นนั้นมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางด้านสะโพกมากกว่าทารกที่คลอดด้วยท่าศีรษะหรือท่าปกติ อะไรคือสาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อม?จากการศึกษาในช่วงแรกนั้น สาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อมคือปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์ ทำให้กระดูกต้นขาไม่สามารถเข้ารอยได้กับเบ้าของสะโพก และจากการศึกษาล่าสุดนั้น สาเหตุของโรคข้อสะโพกเสื่อมถูกมุ่งประเด็นไปที่การม้วนตัวของทารกระหว่างอยู่ในครรภ์แม่ โดยปกตินั้นในขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา ขาของทารกจะพับเข้าตรงสะโพกและแยกออกตามสรีระของร่างกายมนุษย์ เมื่อถึงกำหนดคลอดกระดูกต้นขาจะประกอบไปด้วยกระดูกอ่อนที่สามารถพัฒนาไปเป็นกระดูกได้ในอนาคตอย่างไรก็ตาม กระดูกอ่อนนี้สามารถเปลี่ยนเป็นกระดูกปกติได้ในหลายระดับ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสาเหตุของการแบ่งระดับความรุนแรงของโรคข้อสะโพกเสื่อม ระหว่างการพัฒนาของกระดูกของทารกแรกเกิดนั้น ขาของทารกไม่ควรถูกตึงเหยียดออกมานานเกินไป และควรถูกพับอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมให้เหมือนในขณะที่ทารถอาศัยอยู่ในครรภ์เพื่อที่ทารกจะได้ค่อย ๆ ปรับสภาพกระดูกของตนเองให้เหมาะสม การรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมในปีแรกจะทำโดยการวางทารกในสายรัดประคองสะโพกโดยจัดท่าให้ทารกอยู่ในท่ากบการอุ้มทารกและโรคข้อสะโพกเสื่อม แพทย์ศัลยกรรมกระดูกบางท่าน เช่น ดร. เฟตเวส แพทย์ศัลยกรรมกระดูกชื่อดังชาวเยอรมันนี ได้ทำการสนับสนุนการอุ้มเด็กในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อเลี่ยงอาการของโรคข้อสะโพกเสื่อม อย่างไรก็ตามการจัดท่าให้ทารกอยู่ในท่ากบถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะมองข้ามไม่ได้ ขาของทารกจะต้องแยกออกจากกันและเข่าพับขึ้นให้สูงเหนือข้อต่อสะโพกของตัวทารกในการอุ้มทารกให้มีประสิทธิภาพนั้นผู้อุ้มควรจัดท่าทารกให้อยู่ในตำแหน่งท่าทางที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงขาและข้อต่อสะโพกของทารกเป็นสำคัญ ทารกจะตอบสนองต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อต้นขา ด้วยเหตุนี้การพาทารกออกกำลังขาเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อในขณะที่กระดูกต้นขาของทารกเคลื่อนเข้าไปในเบ้ากระดูกต้นขาอย่างถูกต้องจึงเป็นการช่วยให้ร่างกายของทารกเป็นปกติและเลี่ยงอาการบาดเจ็บ อีกทั้งการเคลื่อนไหวยังช่วยให้การไหลเวียนเลือดในร่างกายของทารกดีขึ้นอีกด้วยและยังส่งผลต่อการพัฒนากระดูกจากกระดูกอ่อนอีกด้วย เมื่อทารกอยู่ในสายรัดประคองสะโพกทารกจะไม่สามารถขยับตัวได้มากนัก เว้นเสียแต่ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบำบัดโรคข้อสะโพกเสื่อมช่วยจัดตำแหน่งให้ทารกอย่างถูกวิธี อย่างไรก็ตามแต่ จากการศึกษาในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้ว่าการอุ้มเด็กในท่าที่เหมาะสมนั้นจะมีประสิทธิภาพและปลอดภัยได้เหมือนกับการอุ้มทารกในสายรัดประคองสะโพกหรือไม่ การอุ้มทารกอาจมีได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ แต่การอุ้มอย่างถูกวิธีจะทำให้ผู้ปกครองมั่นใจได้ว่าการอุ้มนี้สามารถช่วยให้ทารกน้อยห่างจากโรคข้อกระดูกเสื่อม เฮนริค นอร์ฮอล์ท (ผู้เขียน) ดร. เฮนริค นอร์ฮอล์ทเป็นสมาชิกของสมาคมสุขภาพจิตทารก ดร. เฮนริค ได้จบการศึกษาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เขาได้ทำการศึกษาวิจัยผลกระทบของการอุ้มทารกต่อสุขภาพจิตทารกและได้เฝ้าสังเกตการวิจัยนี้ตั้งแต่ปี 2001 ดร. เฮนริค ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยนี้ผ่านทางเครือข่ายแพทย์, หมอตำแย, สูติแพทย์, กุมารแพทย์ และนักจิตวิทยาเด็ก เขายังได้แบ่งปันมุมมองและความรู้ของเขากับผู้ติดตามบล็อคของ Ergobaby อีกด้วย